วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 12 วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

ในกิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ Mind Map ของแต่ละกลุ่ม ที่ได้นำไปปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน 









กิจกรรมการเรียนการสอนต่อมาอาจารย์สอนเรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบ ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้อง ถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและ สิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

คำศัพท์ 
  • egg = ไข่
  • issues  = ประเด็นปัญหา
  • test = การทดลอง
  • hypothesis =  สมมติฐาน
  • The air around me = อากาศรอบตัวฉัน
ทักษะที่ได้รับ
  • การคิด
  • การนำเสนอ
การนำมาประยุกต์ใช้
  • เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 11 วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

การเรียนการสอนในวันนี้ เริ่มต้นด้วยการทบทวนบทเรียนในสัปดาห์ที่ผ่านมา
  • อาจารย์ให้นักศึกษาส่งของเล่นพร้อมบอกว่าเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

รางลาดเอียง 

เป่าลมเป็นรูปสัตว์ต่าง

ลูกแก้วลาดเอียง 

 การสอนแบบบรูณาการ คือ การเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ของหลายๆวิชาเข้าด้วยกัน โดยผ่านหน่วยที่เราเลือก

กิจกรรมที่2 อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อคิดหน่วยการสอนที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อทำ Mind Map ในหน่วยที่เราเลือก





ต่อมาอาจารย์ให้คำแนะนำของการทำ Mind Map ของแต่ละกลุ่มเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข

กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ

กลุ่มที่ 2 หน่วยต้นไม้

กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้

กลุ่มที่ 4 หน่วยปลา

กลุ่มที่ 5 หน่วยไข่

กลุ่มที่ 6 หน่วยดอกไม้

กลุ่มที่ 7 หน่วยอากาศรอบตัวฉัน


คำศัพท์ 
  • The unit = หน่วยการเรียนรู้         
  • property  = คุณสมบัติ
  • oxygen  = ออกซิเจน   
  • integration = บูรณาการ  
  • spiritual Science = จิตวิทยาศาสตร์  
ทักษะที่ได้รับ
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การฟัง
  • การนำเสนอ
  • การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
การนำมาประยุกต์ใช้
  • เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์

     
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

วาดรูปสร้างสรรค์


วาดรูปสร้างสรรค์
1. ภาพวาดแบบขยับได้


ขยับได้อย่างไรดูได้จากวิดีโอนี้


2. ภาพวาดแบบหมุนได้
หมุนได้อย่างไรดูจากวิดีโอนี้



ของเล่นวิทยาศาสตร์


ของเล่นวิทยาศาสตร์
ท่อสังเกตการณ์

อุปกรณ์
  • แกนกระดาษทิชชู่
  • สก็อตเทป
  • กรรไกร
  • ดินน้ำมัน
  • กล่องกระดาษ



วิธีทำ
1.ให้เด็กๆนำแกนกระดาษทิชชูมารัดติดกันด้วยสก็อตเทป

2.คุณครูช่วยเด็กต่อแกนกระดาษทิชชู่ทำเป็นทางจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ


3.ครูนำดินน้ำมันมาให้เด็กปั้นเป็นก้อนกลมๆหย่อนลงไปในแกนกระดาษทิชชู


4.ครูให้เด็กๆร่วมสังเกตการณ์เคลื่อนที่ของดินน้ำมันว่ามีการเคลื่อนที่อย่างไรพร้อมสนทนากับเด็กเพื่อให้เด็กเกิดความคิดและจินตนาการ



เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
  • ·       เด็กสามารถทราบถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุว่าการเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ลักษณะการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวซึ่งมีการเคลื่อนที่นั้นจะมีการเคลื่อนที่แตกต่างกันออกไป
  • ·       เด็กสามารถบอกตำแหน่งของวัตถุได้ การบอกตำแหน่งนั้นเด็กจะทำได้โดยการสังเกตว่าวัตถุที่เคลื่อนที่นั้นหยุดอยู่ที่ใด อย่างเช่น เราปล่อยดินน้ำมันจากที่สูงกว่าจะเคลื่อนที่ได้ไกลกว่าเพราะมีแรงมากกว่า
  • ·       เด็กได้เกิดทักษะการสังเกตจากการเล่นของเล่นโดยที่สังเกตขนาดของวัตถุ การเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ
  • ·       เด็กได้เกิดการเปรียบเทียบวัตถุและการเคลื่อนที่ของวัตถุด้วยตนเอง และสามารถเกิดกระบวนการคิดแก้ปัญหา กานใช้เหตุผลขึ้น
  • ·       เด็กได้ทดลองเล่นด้วยตนเองทำให้เกิดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์โดยตรง







การบันทึกครั้งที่ 10 วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2559


การบันทึกครั้งที่ 10
 วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2559 


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

 อาจารย์ให้นักศึกษาปรับปรุงแก้ไขของเล่นงานกลุ่มเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากนั้นอาจารย์แจกกระดาษA4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น เพื่อเขียนขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นของตนเอง โดยใช้คำที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย สั้น ๆ ได้ใจความเพื่อนำไปใช้ในการสอนเด็กพร้อมทั้งสามารถบูรณาการ STEM&STEAM
อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนนำมาติดที่กระดานหน้าชั้นเรียน

อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน พร้อมช่วยกันระดมความคิดว่าจะเอาของเล่นของสมาชิกในกลุ่มคนใดมาทำเป็นรายงานการสอน




นำเสนองานของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 คานดีดไม้ไอติม


กลุ่มที่ 2 ขวดน้ำนักขนของ


กลุ่มที่ 3 เครื่องเป่าลม


กลุ่มที่ 4 รถพลังงานลม (กลุ่มของดิฉัน)




ทักษะที่ได้รับ
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การคิด
  • การนำเสนอ
  • การตัดสินใจ
  • การลงมือปฏิบัติ
การนำมาประยุกต์ใช้
  • เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน