วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 17 วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 17
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมการเรียนการสอน อาจารย์ให้กลุ่มที่ยังไม่สอบสอนมาทำการสอนน่าชั้นเรียน

กลุ่มที่ 1 หน่วยอากาศ 




กลุ่มที่ 2 เรื่องยานพหนะ




กลุ่มที่ 3 หน่วยดอกไม้ ( กลุ่มของดิฉัน)





คำศัพท์ 
Teaching plan = แผนการสอน
objective = วัตถุประสงค์
integration = บูรณาการ
Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
significant experience = ประสบการณ์สำคัญ

ทักษะที่ได้รับ การฟังการทำงานร่วมกับผู้อื่นการคิด
การนำมาประยุกต์ใช้  เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน  โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์ แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน



การบันทึกครั้งที่ 16 วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์พูดถึงการเรียนการสอนแบบการบรูณาการ STEM คือการทำคลิปวิดีโอรถพลังงานลม ที่ลง Youtube และอาจารย์ให้โจทย์มาว่าของเล่นที่แต่ละกลุ่มประดิษฐ์ขึ้นมานั้นสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้อะไรบ้างและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เช่น ทำรถพลังงานลมเพื่อสามารถนำไปใช้ในการขนส่งหรือลดพลังงานหรือใช้รถพลังงานลมแทนการใช้น้ำมัน 


วิธีการสอน มีดังนี้
1. สังเกตอุปกรณ์ 
2.ตั้งประเด็นปัญหา 
3.เข้าสู่เนื้อหาที่เตรียมมา
- ดูอุปกรณ์ (ทบทวนอุปกรณ์)
- ดูขั้นตอนในการทำ (ทบทวนขั้นตอน)
- สาธิตการทำ
- ให้เด็กออกมาหยิบอุปกรณ์ (โดยให้หัวหน้ากลุ่มออกมาหยิบ)
- ลงมือทำ
4. ครูตั้งสมมติฐานการเล่นจากสิ่งที่ประดิษฐ์
- เด็ก ๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
- ทดลองเล่นของตนเอง ถ้าใครไปไกลกว่าแสดงว่าชนะ
5. สรุปหลักการทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งที่ประดิษฐ์


คำศัพท์ 
  • Test = การทดลอง
  • Technology = เทคโนโลยี
  • integration = บูรณาการ
  • Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
  • significant experience = ประสบการณ์สำคัญ
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการสอน
การนำมาประยุกต์ใช้
- เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
- โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
- มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
- มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน


สรุปวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

สรุปวิจัย

ชื่อเรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
ผู้วิจัย ศุภวารี ศรีนวล
เสนอต่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ธันวาคม 2547 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2547

ประชากร
ประชากร ได้แก่ นักเรียนอนุบาลปีที่2 ตำบลพยมไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 6โรงเรียน รวมจำนวนนักเรียน 167 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 จำนวน 39 ภาคเรียนที่ 2 ของโรงเรียนบ้านพนมไพร ตำบลพนมไพร
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ชั้นอนุบาล ปีที่2
2.แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่2 จำนวน 6 ชุด ชุดละ5 ข้อ
3.แบบทดสอบย่อยระหว่างโครงการจำนวน 3 ชุด ชุดละ 10 ข้อ
4.แบบสังเกตพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 4 ชุด
วิธีดำเนินการวิจัย
1.ทำการทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังเกตพัฒนาการโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนเรียน
2.ดำเนินการทดสอบระหว่างเรียนและสังเกตพัฒนาการในทุกช่วงของโครงการโดยเน้นที่กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
3.ทำการทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังเกตพัฒนาการโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการหลังเรียน
4.นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน มาวิเคราะห์ทางสถิติ
รูปแบบการจัสอดประสบการณ์
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
- ครูสร้างและสังเกตความสนใจของเด็ก
- กระตุ้นความสนใจในการกำหนดหัวเรื่อง
- เด็กนำเสนอหัวเรื่องที่สนใจ
- เด็กร่วมกันคัดเลือกและกำหนดหัวเรื่องที่สนใจ
- เด็กเสนอประสบการณ์เพิ่มเติม
- กำหนดประเด็นที่จะศึกษา
- แจ้งข่าวสารถึงผู้ปกครอง
ระยะที่2 พัฒนาโครงการ
- สรุปประเด็นปัญหาข้อสงสัยที่จะศึกษา
- เลือกประเด็นที่ศึกษา
- ตั้งสมมติฐาน
- วางแผนการศึกษาและสืบตามเป็นเด็นที่ต้องการศึกษา
- สรุปความรู้ที่ได้ศึกษา
ระยะที่3 สรุปและอภิปราย
- สรุปความรู้ความเข้าใจที่ได้ศึกษา
- การนำเสนอผลงาน/จัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
- ประเมินผล/อภิปรายผลการทำโครงการ
- วางแผนเข้าสู่โครงการใหม่
เกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การประเมินคุณภาพของแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการพิจารณาให้คะแนนตามเกณฑ์ดังนี้
ระดับ 5 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด ให้คะแนน 5 คะแนน
ระดับ4 หมายถึง เหมาะสมมาก ให้คะแนน 4 คะแนน
ระดับ3 หมายถึง เหมาะสมปานกลาง ให้คะแนน 3 คะแนน
ระดับ2 หมายถึง เหมาะสมน้อย ให้คะแนน2คะแนน
ระดับ1 หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด ให้คะแนน1คะแนน
เกณฑ์การพิจารณา
เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพของแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการจากคะแนนเฉลี่ยตามเกณฑ์ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย 4.51-5.00 แปลความว่าเหมาะสมมากที่สุด
คะแนนเฉลี่ย 3.51-4.50 แปลความหมายว่า เหมาะสมมาก
คะแนนเฉลี่ย 2.51-3.50 แปลความหมายว่า เหมาะสมปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 1.51-2.50 แปลความหมายว่า เหมาะสมน้อย
คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.50 แปลความหมายว่า เหมาะสมน้อยที่สุด
วิเคราะห์ผลการประเมิน
การประเมินแผนการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิจัยครั้งนี้ใช้เกณฑ์ 3.51-5.00 เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับการสร้างแผนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาง 4.67ซึ่งแปลความว่าเหมาะสมมากนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างได้

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาประสิทธิผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1.แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ มี่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 มีประสิทธิภาพ
2.นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนและความพร้อมหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน
3.นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

สรุปได้ว่า การพัฒณาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมของนักเรียนโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้เป็นอย่างดีนักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้และสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ครูผู้สอนสามารถนำกิจกรรมลักษณะนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้


วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 15 วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559


การบันทึกครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนตามแบบของกลุ่มตนเอง

วันจันทร์ หน่วยผลไม้ (ชนิดของผลไม้)
ขั้นนำ คือ คำคล้องจองผลไม้ ซึ่งแสดงให้เด็กเห็นว่าผลไม้นั้นมีมากมากหลากหลายชนิด
ขั้นสอน คือ นำผลไม้ของจริงมาให้เด็กสังเกตว่าผลไม้แต่ละชนิดมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งสามารถบรูณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้  โดยการสังเกตและจำแนกหมวดหมู่ของผลไม้ว่าเป็นผลรวมหรือผลเดี่ยว (เกณฑ์ที่ใช้คือผลรวม ที่เหลือคือไม่ใช่ผลรวม)


 วันอังคาร หน่วยไข่ (ลักษณะของไข่)
ขั้นนำ คือ เกมต่อจิ๊กซอว์เป็นรูปไข่
ขั้นสอน คือ ให้เด็กๆสังเกตลักษณะของไข่แต่ละชนิดและนำมาเปรียบเทียบกันว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
และให้เด็กรู้จักส่วนประกอบของไข่และนำมาเขียนลงตารางวิเคราะห์






วันพุธ หน่วยต้นไม้ (ปัจจัยการเจริญเติบโตของต้นไม้)
ขั้นนำ คือ คำคล้องจองต้นไม้
ขั้นสอน คือ การปลูกต้นถั่วงอก ให้เด็กลงมือทำด้วยตนเองและสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น




วันพุธ หน่วยปลา (คุ้กกิ้งปลาทอดกรอบ)
กลุ่มนี้จะแตกต่างจากกลุ่มอื่นเพราะเป็นกิจกรรมคุ้กกิ้งเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติในการเข้าฐานแต่ละฐาน โดยในแต่ละฐานจะมีกิจกรรมให้เด็กทำไม่ซ้ำกัน โดยให้เด็กวนทำจนครบ เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับทุกขั้นตอน
ฐานที่ 1 เป็นการตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามแบบ
ฐานที่ 2 เป็นการหั่นเนื้อปลาเป็น 2 ส่วน
ฐานที่ 3 เป็นการนำเนื้อปลาที่หั่นแล้วไปชุบแป้ง
ฐานที่ 4 เป็นการทอดปลา (ฐานนี้เด็กจะได้บรูณาการวิทยาศาสตร์โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเนื้อปลา)









คำศัพท์ 
  • Teaching plan = แผนการสอน
  • objective = วัตถุประสงค์
  • integration = บูรณาการ
  • Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
  • significant experience = ประสบการณ์สำคัญ
ทักษะที่ได้รับ
  • การฟัง
  • การพูด
  • การนำเสนอ
  • การสอน
การนำมาประยุกต์ใช้
  • เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 14 วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 
เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมที่1 การเรียนการสอนอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคลิปวิดีโอที่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว มานำเสนอหน้าชั้นเรียน

คานดีดจากไม้ไอติม

ขวดน้ำนักขนของ 
กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้นั่งตามกลุ่มหน่วยการสอนของตนเอง ได้แก่
  • หน่วยต้นไม้
  • หน่วยปลา
  • หน่วยอากาศ
  • หน่วยผลไม้
  • หน่วยไข่
  • หน่วยดอกไม้
  • หน่วยยานพาหนะ
เพื่อที่นำเสนอแผนการสอนของแต่ละวันโดยที่อาจารย์จะช่วยปรับแก้แผนของแต่ละวัน ให้สมบรูณ์มากยิ่งขึ้น



คำศัพท์ 
  • Teaching plan = แผนการสอน
  • objective = วัตถุประสงค์
  • integration = บูรณาการ
  • Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
  • significant experience = ประสบการณ์สำคัญ
ทักษะที่ได้รับ
  • การเขียนแผนการสอน
  • การนำเสนอ
  • การฟัง

การนำมาประยุกต์ใช้
  • เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน



วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 13 วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559
กิจกรรมการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอวิดีโอการทำของเล่นวิทยาศาสตร์

หลอดมหัศจรรย์

รถพลังงานลม

ขวดน้ำนักขนของ

กิจกรรมที่2 อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันทำแผนการสอนของหน่วยตนเอง นำหน่วยการสอนมาบรูณาการทั้ง 6 สาระ ได้แก่

คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial
reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)
ในการแก้ปัญหา
สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
(mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ 
วิทยาศาสตร์
ทักษะ
  • การสังเกต
  • การจำแนก
  • การวัด
  • การคำนวณ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา
  • การจัดกระทำ
  • การสื่อความหมายข้อมูล การพยากรณ์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบ ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้อง ถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและ สิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ภาษา
  • ฟัง
  • พูด
  • อ่าน
  • เขียน
ศิลปะ
  • วาดภาพ ระบายสี
  • ฉีก ตัด ปะ
  • ปั้น
  • ประดิษฐ์
  • เล่นกับสี
  • พิมพ์
สังคม
  • การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • การมีมารยาท
  • การช่วยเหลือตนเอง
สุขศึกษา พลศึกษา
  • การเคลื่อนไหว
  • สุขภาพอนามัย
  • การเจริญเติบโต
 อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิด เขียนแผนผังออกแบบกิจกรรม โดยกิจกรรมนั้นต้องมีควาเหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
6 กิจกรรมหลัก
  1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  3. กิจกรรมสร้างสรรค์
  4. กิจกรรมเสรี
  5. กิจกรรมกลางแจ้ง
  6. กิจกรรมเกมการศึกษา





คำศัพท์ 
Reason = เหตุผล
Interaction = ปฏิสัมพันธ์
Expression = การแสดงออก
Growth = การเจริญเติบโต
Recognition = การรับรู้
ทักษะที่ได้รับ
  • การฟัง
  • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • การคิด
การนำมาประยุกต์ใช้
  • เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน