วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 17 วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 17
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมการเรียนการสอน อาจารย์ให้กลุ่มที่ยังไม่สอบสอนมาทำการสอนน่าชั้นเรียน

กลุ่มที่ 1 หน่วยอากาศ 




กลุ่มที่ 2 เรื่องยานพหนะ




กลุ่มที่ 3 หน่วยดอกไม้ ( กลุ่มของดิฉัน)





คำศัพท์ 
Teaching plan = แผนการสอน
objective = วัตถุประสงค์
integration = บูรณาการ
Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
significant experience = ประสบการณ์สำคัญ

ทักษะที่ได้รับ การฟังการทำงานร่วมกับผู้อื่นการคิด
การนำมาประยุกต์ใช้  เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน  โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์ แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน



การบันทึกครั้งที่ 16 วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 


เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์พูดถึงการเรียนการสอนแบบการบรูณาการ STEM คือการทำคลิปวิดีโอรถพลังงานลม ที่ลง Youtube และอาจารย์ให้โจทย์มาว่าของเล่นที่แต่ละกลุ่มประดิษฐ์ขึ้นมานั้นสามารถเชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้อะไรบ้างและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เช่น ทำรถพลังงานลมเพื่อสามารถนำไปใช้ในการขนส่งหรือลดพลังงานหรือใช้รถพลังงานลมแทนการใช้น้ำมัน 


วิธีการสอน มีดังนี้
1. สังเกตอุปกรณ์ 
2.ตั้งประเด็นปัญหา 
3.เข้าสู่เนื้อหาที่เตรียมมา
- ดูอุปกรณ์ (ทบทวนอุปกรณ์)
- ดูขั้นตอนในการทำ (ทบทวนขั้นตอน)
- สาธิตการทำ
- ให้เด็กออกมาหยิบอุปกรณ์ (โดยให้หัวหน้ากลุ่มออกมาหยิบ)
- ลงมือทำ
4. ครูตั้งสมมติฐานการเล่นจากสิ่งที่ประดิษฐ์
- เด็ก ๆ คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
- ทดลองเล่นของตนเอง ถ้าใครไปไกลกว่าแสดงว่าชนะ
5. สรุปหลักการทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งที่ประดิษฐ์


คำศัพท์ 
  • Test = การทดลอง
  • Technology = เทคโนโลยี
  • integration = บูรณาการ
  • Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
  • significant experience = ประสบการณ์สำคัญ
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการสอน
การนำมาประยุกต์ใช้
- เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
- โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
- มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
- มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน


สรุปวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

สรุปวิจัย

ชื่อเรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
ผู้วิจัย ศุภวารี ศรีนวล
เสนอต่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ธันวาคม 2547 ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2547

ประชากร
ประชากร ได้แก่ นักเรียนอนุบาลปีที่2 ตำบลพยมไพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 6โรงเรียน รวมจำนวนนักเรียน 167 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 จำนวน 39 ภาคเรียนที่ 2 ของโรงเรียนบ้านพนมไพร ตำบลพนมไพร
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1.แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ชั้นอนุบาล ปีที่2
2.แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่2 จำนวน 6 ชุด ชุดละ5 ข้อ
3.แบบทดสอบย่อยระหว่างโครงการจำนวน 3 ชุด ชุดละ 10 ข้อ
4.แบบสังเกตพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 4 ชุด
วิธีดำเนินการวิจัย
1.ทำการทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังเกตพัฒนาการโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนเรียน
2.ดำเนินการทดสอบระหว่างเรียนและสังเกตพัฒนาการในทุกช่วงของโครงการโดยเน้นที่กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
3.ทำการทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังเกตพัฒนาการโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการหลังเรียน
4.นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินก่อนเรียนและหลังเรียน มาวิเคราะห์ทางสถิติ
รูปแบบการจัสอดประสบการณ์
ระยะที่ 1 วางแผนและเริ่มต้นโครงการ
- ครูสร้างและสังเกตความสนใจของเด็ก
- กระตุ้นความสนใจในการกำหนดหัวเรื่อง
- เด็กนำเสนอหัวเรื่องที่สนใจ
- เด็กร่วมกันคัดเลือกและกำหนดหัวเรื่องที่สนใจ
- เด็กเสนอประสบการณ์เพิ่มเติม
- กำหนดประเด็นที่จะศึกษา
- แจ้งข่าวสารถึงผู้ปกครอง
ระยะที่2 พัฒนาโครงการ
- สรุปประเด็นปัญหาข้อสงสัยที่จะศึกษา
- เลือกประเด็นที่ศึกษา
- ตั้งสมมติฐาน
- วางแผนการศึกษาและสืบตามเป็นเด็นที่ต้องการศึกษา
- สรุปความรู้ที่ได้ศึกษา
ระยะที่3 สรุปและอภิปราย
- สรุปความรู้ความเข้าใจที่ได้ศึกษา
- การนำเสนอผลงาน/จัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
- ประเมินผล/อภิปรายผลการทำโครงการ
- วางแผนเข้าสู่โครงการใหม่
เกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การประเมินคุณภาพของแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการพิจารณาให้คะแนนตามเกณฑ์ดังนี้
ระดับ 5 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด ให้คะแนน 5 คะแนน
ระดับ4 หมายถึง เหมาะสมมาก ให้คะแนน 4 คะแนน
ระดับ3 หมายถึง เหมาะสมปานกลาง ให้คะแนน 3 คะแนน
ระดับ2 หมายถึง เหมาะสมน้อย ให้คะแนน2คะแนน
ระดับ1 หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด ให้คะแนน1คะแนน
เกณฑ์การพิจารณา
เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพของแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการจากคะแนนเฉลี่ยตามเกณฑ์ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย 4.51-5.00 แปลความว่าเหมาะสมมากที่สุด
คะแนนเฉลี่ย 3.51-4.50 แปลความหมายว่า เหมาะสมมาก
คะแนนเฉลี่ย 2.51-3.50 แปลความหมายว่า เหมาะสมปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 1.51-2.50 แปลความหมายว่า เหมาะสมน้อย
คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.50 แปลความหมายว่า เหมาะสมน้อยที่สุด
วิเคราะห์ผลการประเมิน
การประเมินแผนการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิจัยครั้งนี้ใช้เกณฑ์ 3.51-5.00 เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับการสร้างแผนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาง 4.67ซึ่งแปลความว่าเหมาะสมมากนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างได้

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาประสิทธิผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1.แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ มี่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 มีประสิทธิภาพ
2.นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนและความพร้อมหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน
3.นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากการจัดประสบการณ์ด้วยแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

สรุปได้ว่า การพัฒณาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพร้อมของนักเรียนโดยการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้เป็นอย่างดีนักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้และสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง ครูผู้สอนสามารถนำกิจกรรมลักษณะนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้