วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 15 วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559


การบันทึกครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนตามแบบของกลุ่มตนเอง

วันจันทร์ หน่วยผลไม้ (ชนิดของผลไม้)
ขั้นนำ คือ คำคล้องจองผลไม้ ซึ่งแสดงให้เด็กเห็นว่าผลไม้นั้นมีมากมากหลากหลายชนิด
ขั้นสอน คือ นำผลไม้ของจริงมาให้เด็กสังเกตว่าผลไม้แต่ละชนิดมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งสามารถบรูณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้  โดยการสังเกตและจำแนกหมวดหมู่ของผลไม้ว่าเป็นผลรวมหรือผลเดี่ยว (เกณฑ์ที่ใช้คือผลรวม ที่เหลือคือไม่ใช่ผลรวม)


 วันอังคาร หน่วยไข่ (ลักษณะของไข่)
ขั้นนำ คือ เกมต่อจิ๊กซอว์เป็นรูปไข่
ขั้นสอน คือ ให้เด็กๆสังเกตลักษณะของไข่แต่ละชนิดและนำมาเปรียบเทียบกันว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน
และให้เด็กรู้จักส่วนประกอบของไข่และนำมาเขียนลงตารางวิเคราะห์






วันพุธ หน่วยต้นไม้ (ปัจจัยการเจริญเติบโตของต้นไม้)
ขั้นนำ คือ คำคล้องจองต้นไม้
ขั้นสอน คือ การปลูกต้นถั่วงอก ให้เด็กลงมือทำด้วยตนเองและสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น




วันพุธ หน่วยปลา (คุ้กกิ้งปลาทอดกรอบ)
กลุ่มนี้จะแตกต่างจากกลุ่มอื่นเพราะเป็นกิจกรรมคุ้กกิ้งเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติในการเข้าฐานแต่ละฐาน โดยในแต่ละฐานจะมีกิจกรรมให้เด็กทำไม่ซ้ำกัน โดยให้เด็กวนทำจนครบ เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมกับทุกขั้นตอน
ฐานที่ 1 เป็นการตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามแบบ
ฐานที่ 2 เป็นการหั่นเนื้อปลาเป็น 2 ส่วน
ฐานที่ 3 เป็นการนำเนื้อปลาที่หั่นแล้วไปชุบแป้ง
ฐานที่ 4 เป็นการทอดปลา (ฐานนี้เด็กจะได้บรูณาการวิทยาศาสตร์โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเนื้อปลา)









คำศัพท์ 
  • Teaching plan = แผนการสอน
  • objective = วัตถุประสงค์
  • integration = บูรณาการ
  • Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
  • significant experience = ประสบการณ์สำคัญ
ทักษะที่ได้รับ
  • การฟัง
  • การพูด
  • การนำเสนอ
  • การสอน
การนำมาประยุกต์ใช้
  • เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 14 วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 
เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมที่1 การเรียนการสอนอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคลิปวิดีโอที่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว มานำเสนอหน้าชั้นเรียน

คานดีดจากไม้ไอติม

ขวดน้ำนักขนของ 
กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้นั่งตามกลุ่มหน่วยการสอนของตนเอง ได้แก่
  • หน่วยต้นไม้
  • หน่วยปลา
  • หน่วยอากาศ
  • หน่วยผลไม้
  • หน่วยไข่
  • หน่วยดอกไม้
  • หน่วยยานพาหนะ
เพื่อที่นำเสนอแผนการสอนของแต่ละวันโดยที่อาจารย์จะช่วยปรับแก้แผนของแต่ละวัน ให้สมบรูณ์มากยิ่งขึ้น



คำศัพท์ 
  • Teaching plan = แผนการสอน
  • objective = วัตถุประสงค์
  • integration = บูรณาการ
  • Learning activities = กิจกรรมการเรียนรู้
  • significant experience = ประสบการณ์สำคัญ
ทักษะที่ได้รับ
  • การเขียนแผนการสอน
  • การนำเสนอ
  • การฟัง

การนำมาประยุกต์ใช้
  • เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน



วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 13 วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2559
กิจกรรมการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอวิดีโอการทำของเล่นวิทยาศาสตร์

หลอดมหัศจรรย์

รถพลังงานลม

ขวดน้ำนักขนของ

กิจกรรมที่2 อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันทำแผนการสอนของหน่วยตนเอง นำหน่วยการสอนมาบรูณาการทั้ง 6 สาระ ได้แก่

คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial
reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)
ในการแก้ปัญหา
สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
(mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ 
วิทยาศาสตร์
ทักษะ
  • การสังเกต
  • การจำแนก
  • การวัด
  • การคำนวณ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา
  • การจัดกระทำ
  • การสื่อความหมายข้อมูล การพยากรณ์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบ ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้อง ถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและ สิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ภาษา
  • ฟัง
  • พูด
  • อ่าน
  • เขียน
ศิลปะ
  • วาดภาพ ระบายสี
  • ฉีก ตัด ปะ
  • ปั้น
  • ประดิษฐ์
  • เล่นกับสี
  • พิมพ์
สังคม
  • การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • การมีมารยาท
  • การช่วยเหลือตนเอง
สุขศึกษา พลศึกษา
  • การเคลื่อนไหว
  • สุขภาพอนามัย
  • การเจริญเติบโต
 อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิด เขียนแผนผังออกแบบกิจกรรม โดยกิจกรรมนั้นต้องมีควาเหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
6 กิจกรรมหลัก
  1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  3. กิจกรรมสร้างสรรค์
  4. กิจกรรมเสรี
  5. กิจกรรมกลางแจ้ง
  6. กิจกรรมเกมการศึกษา





คำศัพท์ 
Reason = เหตุผล
Interaction = ปฏิสัมพันธ์
Expression = การแสดงออก
Growth = การเจริญเติบโต
Recognition = การรับรู้
ทักษะที่ได้รับ
  • การฟัง
  • การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  • การคิด
การนำมาประยุกต์ใช้
  • เด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน